การลงทุนและสถานการณ์ของ Covid-19 แบบนี้
แน่นอนตลาดหุ้นก็ตก ใครมีเงินเย็นก็กว๊านซื้อเอาไว้ แต่ในส่วนอสังหาริมทรัพย์ ก็ไม่เห็นราคามันจะลงอะไรเลย เราก็รออยู่ ราคามันก็ยังทรง ๆ ตัว คนก็ไม่ได้ออกมาขายอะไรเยอะ เพราะเขาก็คงรู้ว่าถ้าเอาออกมาขายตอนนี้ ราคาก็คงจะไม่ดีนัก และที่แน่ ๆ ก็คือมันทำ inspection ยากมาก ต้อง make appointment นั่น นี่ โน่น (แต่ก็ไม่ยากเกินไป อาทิตย์หน้าคงจะลองนั่งดู listing อย่างจริงจัง ข้ออ้างต้องไม่เยอะ) ในส่วนของตลาดหุ้น แน่นอน ไม่ว่าจะ recession หรือ depression (หนักกว่า recession) ทุกอย่างจะค่อย ๆ rebound ในช่วง 3-4 weeks ที่ผ่านมา เราก็ช้อนซื้อหุ้นที่เราอยากได้มาบ้างแล้วเป็นบางส่วน ตอนนี้เราก็หยุดแล้ว ไม่ได้ซื้ออะไรเพิ่มแล้ว คิดว่าพอใจกับสิ่งที่ได้มา ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามแต่ เราคิดว่าถ้าคนเราทำอะไรแล้วตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอดี ไม่โลภจนมากเกินไป ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วเรายังสามารถกว๊านซื้อเพิ่มได้อีก แต่ก็นั่นแหละ ทุกอย่างในชีวิตมันก็ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนของความไม่แน่นอน เราไม่ต้องการอะไรมากไปกว่านี้แล้ว เมื่อเรากินอิ่มแล้ว เราก็ต้องรู้จักที่จะหยุด รู้จักที่จะพอ portfolio ของเราก็เอาเป็นว่าสามารถซื้อ 2-bedroom apartment ได้หลังหนึ่งโดยที่ไม่ต้องผ่อน portfolio ของการลงทุน เราก็ทำในรูปแบบ family trust อยู่แล้ว ถ้าเราต้องเงิน เราก็ขายออกมาได้ แต่เราก็หวังกินผลระยะยาว หวัง dividend หวัง passive income มากกว่า เราลงทุนแบบ long-term แบบ VI; Value Investor ในวันที่เราไม่อยู่ ลูกเราก็สามารถสานต่อได้ เพราะทุกอย่างจดทะเบียนเป็น family trust; discretionary trust อยู่แล้ว ก็ถือซะว่าเราปูทางอะไรไว้ลูกเราด้วยละกัน เราจะได้ไม่ต้องห่วงในวันที่เราไม่อยู่ ทำอะไรก็ตามแต่ อย่าถลำลึก เอาแค่พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยไป เดินทางสายกลาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเงิน การลงทุนหรือการดำรงชีวิตทั่ว ๆ ไป เมื่อไหร่ที่ความโลภเข้ามาครอบงำ มันจะให้วิจารณญาญในการตัดสินใจของเราผิดพลาด ให้พึงระวัง เราอย่าคิดว่าเราต้อง "เก่ง" หรือ "ชนะ" ตลอดไป เราต้องเผื่อใจเอาไว้ด้วยกับทุกสถานการณ์ ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ลงทุนด้วยความไม่ประมาท วิถีการใช้ชีวิต วิธีการลงทุนของเราอาจจะไม่เหมือนใคร ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด แต่วิถีการใช้ชีวิตของเราเป็นแบบนี้ และเราก็ happy happy มาจากข้างใน วันนี้เราหยุดแล้ว แล้วท่านหละ... หยุดหรือยัง... ...รักนะ... 26/04/2020 อะ มาต่อกันอีกภาค 2
เราขอเขียน blog นี้ในมุมมองของเจ้าของธุรกิจก็แล้วกัน เผื่อใครจะได้นำเอาไปประยุกต์ให้เข้ากับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของร้านอาหาร เจ้าของร้านนวด หรือพวก self-employed, contractor คนขับ Uber อะไรก็ว่าไป แต่ก็อย่าลืมว่าเราก็เขียนในแบบและมุมมองของ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก SME; Small and Medium-sized Enterprise สำหรับพวก big business พวกนั้นเขาก็คงรวยอยู่แล้ว ปล่อยพวกเขาไป สำหรับเจ้าของธุรกิจ การที่เราจะจ่ายค่าแรงให้กับตัวเองหรือเปล่านั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี ๆ เจ้าของธุรกิจ ถ้าเป็น Director เราก็สามารถได้ director fee รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเราได้ เจ้าของธุรกิจที่เป็น share holder ของบริษัทก็สามารถได้เงินปันผลจากบริษัทด้วย รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเราด้วยเช่นเดี่ยวกัน แล้วถ้า director ที่เป็น share holder ด้วยหละ เราก็สามารถได้รับ director fee และเงินปันผลจากบริษัทด้วยเช่นเดียวกัน รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเราได้ แล้วถ้า director เป็นพนักงานด้วยหละ เราก็สามารถได้ director fee + ค่าแรงหรือค่าจ้างของพนักงานด้วย รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเรา คือมันทำได้หมดจริง ๆ เจ้าของธุรกิจก็ต้องมี accountant ส่วนตัวแหละ แต่เราก็ต้องมีความรู้พวกนี้บ้าง เวลาคุยกันกับ accountant เราจะได้คุยกับเขารู้เรื่อง หรือ director อาจจะไม่เอา direct fee เลยก็ได้ ถ้าเราไม่รับเงิน director fee เลย เราก็เก็บทุกสิ่งอย่างในรูปแบบของบริษัทก็ได้ แต่ก็อย่าลืมว่าบริษัทก็ต้องจ่ายภาษี flate rate 30% ส่วนเจ้าของธุรกิจหรือ director คนไหนต้องการจ่ายตัวเองเท่าไหร่ (director fee) ก็ลองดูตารางการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลข้างบนละกัน $18,200 หนะไม่ต้องเสียภาษี แต่หลังจากนั้น มันก็เริ่มต้นขั้นต่ำที่ 19% แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได้; 19%, 32.5, 37% และสูงสุดอยู่ที่ 45% ก็เอาเป็นว่าเราต้อง strategise ตัวเราให้ดีว่าจะทำแบบไหน อะไร ยังไง การที่เราจะใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้ให้รอด เราก็ต้องมีความรู้ระบบภาษีของที่นี่ด้วย มี accountant ส่วนตัว พูดคุยกับ accountant บ่อย ๆ จับชีพจรการเงินกันไปเรื่อย ๆ ศีกษา รู้เท่าทัน เรื่องของภาษี เงิน ๆ ทอง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือลูกจ้าง เราว่าทุกคนก็ควรจะมี basic knowledge นะ ความรู้ขั้นพื้นฐานในการทำบัญชี เรื่องของภาษี เรื่องรายรับ รายจ่าย เรื่อง GST อะไรต่าง ๆ นานาเราดูแลเองหมดอยู่แล้ว ขัดเกลาตัวเลขก่อน ก่อนที่จะส่งให้ accountant เอาเป็นว่าการทำธุรกิจตั้งแต่ 2003 มันสอนอะไรเราไว้เยอะ เพราะภาษีที่ประเทศออสเตรเลียสูงมาก เราต้องรู้ว่าจะต้องทำอะไร ยังไงกับตัวเลขต่าง ๆ ตอนนี้บริษัทก็มีการเปลี่ยนโครงสร้าง เปลี่ยน structure บ้างเล็กน้อย เราก็มี 2 บริษัท อันหนึงก็ของ "J Migration Team" และอีกอันหนึ่งก็เป็น investment company ล้วน ๆ ในนั้นก็จะมีแต่หุ้นและก็อสัหาริมทรัพย์ บริษัทที่ดูแลเรื่องการลงทุน ระบบและโครงสร้างลงตัวแล้ว เราทำเป็น Discretionary Trust หรือ Family Trust ซึ่งแน่นหนาและมั่นคงในหลาย ๆ เรื่อง เดี๋ยวว่าง ๆ จะเขียนเรื่อง Trust ให้คนได้อ่านกัน เอาแบบภาษาง่าย ๆ ไม่ใช่ภาษาของ accountant ก็เหลือแต่ของ "J Migration Team" ที่แหละที่ยังไม่ได้เป็น Trust เดี๋ยวขอเวลาหายใจก่อน ว่าง ๆ ค่อยเปลี่ยนละกัน ทำการค้าในรูปแบบบริษัทมันก็ต้องเสียภาษีรายได้เป็น flat rate: 30% ซึ่งเราก็คิดว่า 30% มันก็ OK นะ แต่มันคือ 30% จากกำไร ถ้าไม่อยากเสียเยอะ ก็ต้องมีกำไรน้อย ๆ แต่ถ้ายอดขายเราเยอะ เราก็ต้องพยายามหารายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมา claim ให้ได้เยอะที่สุด อันไหน claim ได้ก็ต้องเอามา claim ใคร Working From Home ก็สามารถ claim $0.80/hr ได้ = $6.08 ต่อวัน (เออ เป็นค่ากาแฟ เป็นค่า hot chocolate ก็ได้วะ) ในพวก accounting software ต่าง ๆ (MYOB, Xero หรือ Quickboom) เขาจะคำนวณ 1 วันทำงานเท่ากับ 7.6 ชั่วโมง 7.6 x 5 = 38 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ นั่นคือชั่วโมงการทำงานทั่ว ๆ ไป เอ่อ เอามาใช้กับเราไม่ได้เลยจ๊ะ เราทำงานแบบว่า 9am - 9pm; 12 hr กันเลยทีเดียว แต่ก็ช่างเถอะ อันไหน claim ได้ก็จะ claim ไป หรือ director fee มันก็จะกลายมาเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเรา รายได้ส่วนบุคคล ถ้าไม่อยากจ่ายภาษี ปีหนึ่งก็ต้องมีรายได้ไม่เกิน $18,200 = $350/week superannuation 9.5% = $33.25 อะไรประมาณนี้ ใครก็เป็นเจ้าของธุรกิจ เป็น director ของบริษัท ก็ไปลองคิดเอาเองละกันว่าเราควรจะจ่าย director fee ให้กับตัวเองหรือ director คนอื่น ๆ เท่าไหร่ดี ก็เอาเป็นว่าบางอย่างก็ปล่อยให้เป็นปริศนา ให้คนไปคิดกันเองละกัน.... ก็เอาเป็นว่าในส่วนบริษัทก็จ่ายไปในส่วนของบริษัท ในส่วนรายได้ส่วนบุคคล ของ director fee ก็อีกเรื่องหนึ่ง รู้กันหรือเปล่าเอ่ยว่า Kerry Packer ตอนที่เขามีชีวิตอยู่ เขาเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลเท่าไหร่ Kerry Packer คือเจ้าของ Channel 9, เจ้าของ Crown Casino ก่อนที่ส่งต่อให้ James Packer Kerry Packer ตอนที่มีชีวิตอยู่ เขาคือคนที่รวยที่สุดในประเทศออสเตรเลีย และเขาเสียภาษี $0 จ๊ะ เพราะเขาจ่ายทุกอย่างในรูปแบบของบริษัท และแทนที่เขาจะจ่ายภาษี เขาบอกว่าเขาเอาเงินมาบริจาคดีกว่า เพราะเขาสามารถเลือกได้ว่าเขาจะบริจาคให้องค์กรไหน แล้วเอาก็เงินบริจาคนั้นมา claim ภาษีได้ แต่ถ้า Kerry Packer เอาเงินเหล่านั้นมาจ่ายภาษี มันก็เหมือนว่ารัฐบาลเอาเงินภาษีส่วนนั้นไปบริหารประเทศ ซึ่งบางส่วนเขาอาจจะไม่เห็นด้วย Kerry Packer จึงเลือกที่จะบริจาคเงินให้กับการกุศลแทน เรื่องราวของเขาเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ใครว่าง ๆ ก็ลองศึกษาหรือหาข้อมูลอะไรอ่านเกี่ยวกับ Kerry Packer ดูนะครับ เรื่องของภาษี เรื่องของเงิน ๆ ทอง ๆ เป็นเรื่องที่เราควรต้องรู้จ๊ะ Money literacy สำคัญนะจ๊ะพี่น้อง มันไม่มีสอนในโรงเรียน เราก็ต้องหาหนังสืออ่านกันเอง ศึกษา รู้เท่าทัน ก่อนอื่นเราต้องออกไว้ก่อนว่าเราไม่ใช่พวก financial adviser
เราแค่บอกเล่าเก้าสิบในสิ่งที่เราทำและเขียน blog เพื่อเป็นบันทึกของเราเท่านั้น หากมันจะไป inspire ใครสักคน เราก็ยินดีด้วย แต่ให้จำไว้เสมอว่า การลงทุนก็เหมือนการวิ่งมาราธอน แต่มันเป็นการวิ่งมาราธอนปลายเปิดทั้ง 2 ด้าน ที่ผู้ลงเข้าร่วมสนามต้องวิ่งแข่งกับตัวเอง ไม่ไปแข่งกับใครคนอื่น และผู้เข้าร่วมการวิ่งมาราธอนก็สามารถเข้ามาร่วม หรือออกจากการวิ่งมาราธอนนี้ได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราก็ไม่ต้องเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับใครต่อใคร หรือกูรูสำนักไหน ๆ ก็เอาเป็นว่า สิ่งที่เราเขียนไป ใครจะนำเอาประยุกต์ใช้ยังไงก็ลองดูนะครับ หรือจะแค่ขำ ๆ อ่านเป็นความรู้ก็ได้ ช่วง Covid-19 ตลาดหุ้นของประเทศออสเตรเลียก็มีการดิ่งลงเหวแบบตั้งตัวไม่ทัน ใครไหวตัวทัน มีเงินเย็น มีเงินเก็บสะสม สามารถช้อนซื้อหุ้นชั้นดีเอาไว้ก็ดีไป ของเราก็ช้อนซื้อเอาใว้เป็นบางส่วน มันก็เป็นหุ้นที่เรามีอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็น bargain เพราะเราชื่อมั่นในหุ้นของ 3 บริษัทที่เรามีอยู่แล้ว ถึงแล้วเราจะไม่ได้ซื้อตอนช่วงที่มัน rock-bottom อย่างน้อยเราก็ไม่ขาดทุนมาก ให้ราคาหุ้นมันเฉลี่ยกันไป แต่จริง ๆ แล้วเราก็ไม่ได้มองในเรื่องของ "ขาดทุน-กำไร" อยู่แล้วเพราะเราก็ไม่กะที่จะขายหุ้นพวกนี้อยู่แล้ว เราซื้อเอาไว้เพื่อการแบ่งปันผล dividend มากกว่า เป็น long-term investment เป็น passive income ดังนั้นการที่เราสามารถซื้อหุ้นพวกนี้ได้ในราคาที่ถูกกว่าปรกติ ก็ถือว่าเป็น bargain แล้ว ในช่วงของ Covid-19 ตลาดหุ้นก็มีการดิ่งลงเหวอย่างเฉียบพลัน ใครมีเงินเก็บหรือเงินเย็นก็สามารถช้อนซื้อเอาไว้ได้ สบายไป เราก็ช้อนซื้อเอาไว้ได้ไม่มากนัก ได้มา 2 lots แต่ช่วงที่เราซื้อ มันก็ยังไม่ใช่ rock-bottom หรอกนะ เพราะเราก็ไม่รู้ว่ามันจะ rock-bottom เมื่อไหร่เพราะเราก็ซื้อก่อน 23 March 2020 หลังจากนั้นราคาหุ้นมันก็ยังดิ่งลงอยู่ แต่เราก็ไม่มีเงินมากพอที่ช้อนซื้อเอาไว้เพิ่ม เพราะเงินในแต่ละบัญชีเราแบ่งแยกออกมาเป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายกัน มันจะได้ไม่มั่ว และมันก็เป็นอีกหนึ่ง discipline ในการบริหารเงินด้วย คือแยกออกมาใครมัน หลังจากนั้นก็มีการ rebound เมื่อวันที่ 23 March, หุ้นก็เริ่มดีดตัวขึ้นมา แล้วเราก็เผอิญมีเงินเข้าในบัญชีของการลงทุนหลังวันที่ 23 March เราก็เลยสั่งซื้อเอาไว้ แต่เราก็เลือกที่จะไม่ซื้อในราคาของวันนั้น ๆ ถึงแม้ว่าราคามันจะถูกกว่าปรกติ เราก็เลือกที่ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าของวันที่ 23 March อีก ดูสิว่ามันจะเผลอลดลงมาหรือเปล่า คือตอนนี้มัน re-bound เมื่อวันที่ 23 March, แต่เราสั่งซื้อในราคาที่ต่ำกว่าอีก กะว่าจะรอ bargain ว่างั้นเถอะ ถ้ามันลดลงมาก็ดี ถ้าไม่ลดลงมาก็ไม่เป็นไร เพราะเราก็ place an order ไปให้มัน expire ภายวันที่ 30 Apr 2020 เราก็พอที่จะศึกษาข้อมูลและ data อยู่บ้าง เราก็คาดเดาเอาไว้ว่า เหตุการณ์ Covid-19 ก็น่าจะหนักกว่า GFC 2008 อยู่นะ เพราะเราดูจาก data ผู้คนที่ว่างงานที่สหรัฐอเมริกา เพราะตอนนี้เหตุการณ์คนว่างงานที่ US เพราะ Covid-19 ตอนนี้เยอะมากกว่าตอน GFC 2008 ดังนั้นเราก็คิดว่าเศรษฐกิจโลกที่น่าจะใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว เพราะเศรษฐกิจโลกตอนนี้ ของแต่ละประเทศมันก็เชื่อมโยงกันหมดเลย ถ้าเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งเกิดมีปัญหา มันก็จะเชื่อมโยงกันหมดเลย เราก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ ใครจะอยู่หรือใครจะไป ศึกษารู้เท่าทัน ใช้เหตุและผล และ data ในการตัดสินใจในการลงทุน |
บันทึกชีวิตการลงทุน เล็ก ๆ น้อย ๆ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ Archives
September 2024
|