อะ มาต่อกันอีกภาค 2
เราขอเขียน blog นี้ในมุมมองของเจ้าของธุรกิจก็แล้วกัน เผื่อใครจะได้นำเอาไปประยุกต์ให้เข้ากับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของร้านอาหาร เจ้าของร้านนวด หรือพวก self-employed, contractor คนขับ Uber อะไรก็ว่าไป แต่ก็อย่าลืมว่าเราก็เขียนในแบบและมุมมองของ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก SME; Small and Medium-sized Enterprise สำหรับพวก big business พวกนั้นเขาก็คงรวยอยู่แล้ว ปล่อยพวกเขาไป สำหรับเจ้าของธุรกิจ การที่เราจะจ่ายค่าแรงให้กับตัวเองหรือเปล่านั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี ๆ เจ้าของธุรกิจ ถ้าเป็น Director เราก็สามารถได้ director fee รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเราได้ เจ้าของธุรกิจที่เป็น share holder ของบริษัทก็สามารถได้เงินปันผลจากบริษัทด้วย รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเราด้วยเช่นเดี่ยวกัน แล้วถ้า director ที่เป็น share holder ด้วยหละ เราก็สามารถได้รับ director fee และเงินปันผลจากบริษัทด้วยเช่นเดียวกัน รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเราได้ แล้วถ้า director เป็นพนักงานด้วยหละ เราก็สามารถได้ director fee + ค่าแรงหรือค่าจ้างของพนักงานด้วย รายได้ตรงนี้ก็จะเอามาคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลของเรา คือมันทำได้หมดจริง ๆ เจ้าของธุรกิจก็ต้องมี accountant ส่วนตัวแหละ แต่เราก็ต้องมีความรู้พวกนี้บ้าง เวลาคุยกันกับ accountant เราจะได้คุยกับเขารู้เรื่อง หรือ director อาจจะไม่เอา direct fee เลยก็ได้ ถ้าเราไม่รับเงิน director fee เลย เราก็เก็บทุกสิ่งอย่างในรูปแบบของบริษัทก็ได้ แต่ก็อย่าลืมว่าบริษัทก็ต้องจ่ายภาษี flate rate 30% ส่วนเจ้าของธุรกิจหรือ director คนไหนต้องการจ่ายตัวเองเท่าไหร่ (director fee) ก็ลองดูตารางการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลข้างบนละกัน $18,200 หนะไม่ต้องเสียภาษี แต่หลังจากนั้น มันก็เริ่มต้นขั้นต่ำที่ 19% แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได้; 19%, 32.5, 37% และสูงสุดอยู่ที่ 45% ก็เอาเป็นว่าเราต้อง strategise ตัวเราให้ดีว่าจะทำแบบไหน อะไร ยังไง การที่เราจะใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้ให้รอด เราก็ต้องมีความรู้ระบบภาษีของที่นี่ด้วย มี accountant ส่วนตัว พูดคุยกับ accountant บ่อย ๆ จับชีพจรการเงินกันไปเรื่อย ๆ ศีกษา รู้เท่าทัน Comments are closed.
|
บันทึกชีวิตการลงทุน เล็ก ๆ น้อย ๆ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ Archives
September 2024
|