ชีวิตของ "J Migration Team" กว่าจะมาถึงจุดนี้ ไม่ง่าย
วันก่อนเรานั่ง clear เอกสารอะไรต่าง ๆ ของพวก case เก่า ๆ ที่ยังเป็นพวก paper-based application พวกก่อนปี 2015 เพราะตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา เอกสารของเราทุกสิ่งอย่างเป็น 100% digital หมดเลย แล้วก็เก็บไว้ใน cloud เป็นอย่างดี ไม่มีการสูญหาย เอกสารพวก pre-2015, เราก็ scan แล้วเก็บเอาไว้ ซึ่งก็มีไม่เยอะหรอก เพราะ pre-2015 เราไม่ได้ busy ขนาดนี้ pre-2015 เราก็ทำงานคนเดียว 2015 - 2016 เราก็ทำงานคนเดียว เริ่มยุ่งนิด ๆ 2017 ถึงเริ่มมีทีมงานเข้ามาช่วย ตอนนี้ ปี 2020 เราก็เป็น "the team of 8" วันก่อนตอนที่นั่ง clear เอกสาร อันไหนพอ scan เก็บเอาไว้เราก็ scan อันไหนควรทิ้งเราก็ทิ้ง กระดาษก็เอามา recycle เพื่อ print อีกด้านหนึ่งได้ เราก็เห็นแฟ้มเอกสารของ student visa อันหนึ่ง โอ๊ว... 17 July 2010; 10 ปีที่แล้ว วันนั้นเราจำขึ้นใจ case นี้เป็นของคนใกล้ตัว... เขียนได้ :) เราเรียนจบ Australian Immigration Law และได้หมายเลข MARN มาเมื่อปี 2008 แต่ก็ไม่ได้คิดจะเปิดบริษัททำอะไรจริงจัง คิดแค่ว่าต้องการทำเรื่องขอ PR ให้คนใกล้ตัว ให้คนรอบข้าง และก็ทำ "ฟรี" ไม่ได้กะที่จะทำเป็นการค้าหรือธุรกิจอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเราก็มีงานและธุรกิจอย่างอื่นของเราอยู่แล้ว ที่ตั้งใจไปเรียนเพิ่มเพราะว่ามันก็ใช้ HECS ได้ เราเป็น citizen ไม่ต้องจ่ายค่าเทอม และก็คิดง่าย ๆ แค่ว่าเราต้องการมี MARN เพื่อที่จะทำเรื่องขอ PR ให้กับพนักงานของเรา เพราะตอนไปทำเรื่องวีซ่าทำงาน subclass 457 สมัยนั้น เขา quote ราคามาที่ $5,500.00 (เมื่อประมาณปี 2005/2006 ซึ่งก็เป็นราคาที่สูงพอสมควรในสมัยนั้น) ที่เราไปเรียนเพิ่ม เราก็แค่ต้องการทำ PR ให้กับพนักงานของเรา เราไม่ต้องการไปจ้างบริษัทใหญ่ใน Sydney เพื่อให้เขาทำวีซ่าให้กับพนักงานของเรา เราคิดแค่นั้นจริง ๆ คิดเอาง่าย ๆ แค่ว่าทำวีซ่าให้กับคนรอบข้าง ให้กับพนักงานของเรา และก็ไม่เคยคิดตังค์ ตอนนั้นคิดง่าย ๆ แค่ว่าต้องการประหยัดตังค์ $5,500.00 ก็แค่นั้นเอง พอได้ MARN มาสักพัก เพื่อนสนิทชาวสิงคโปร์ก็มาเที่ยวออสเตรเลีย มาพักที่บ้าน เขาก็เตือนสติว่า เฮ้ย ไม่ได้นะ เราอุตส่าห์ไปเรียนมา ก็เอาความรู้ เอา MARN มาใช้ประโยชน์หน่อยก็ดี จะได้ลูกค้ามากหรือได้ลูกค้าน้อยก็ว่ากันไป ดีกว่าได้ MARN มาแล้วไม่ทำอะไรเลย เมื่อปี 2008, คนทำงานทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่นที่มี MARN อย่างถูกต้องมีแค่ประมาณ 4,500 คน (ปีนี้ 2020, มีประมาณ 8,000 กว่าคน) ทั่วประเทศออสเตรเลีย เออ ทำไมเราต้องรอให้เพื่อนมาบอกเนี๊ยะ แต่ตอนนั้นเรายังเด็กมาก ไม่ได้คิดอะไรจริง ๆ เราเองก็ยุ่ง ๆ อยู่กับงานอย่างอื่นของเราอยู่แล้ว ไม่ได้คิดว่าต้องมีอาชีพเสริม หรือทำอะไรเพิ่ม ปี 2008-2009 เราก็ทำกันฟรี ๆ ให้กับคนที่รู้จักกัน ให้กับรอบข้างมากกว่า เราก็คิดเอาง่าย ๆ แค่ว่าคนที่ Wollongong จะได้ไม่ต้องเข้าไปที่ Sydney อีกต่อไป อย่างน้อย ๆ ตัวเราเองและคนรอบข้างก็ไม่ต้องไปหละวะ คนอื่นเขายังอยากจะไป Sydney ก็เรื่องของเขา แต่ก่อนคิดแค่นี้จริง ๆ ด้วยความที่ว่าเราก็เด็กมาก และเราก็มีอาชีพอื่น มีธุรกิจอื่นอยู่แล้ว ตอนที่เราเริ่มทำใหม่ ๆ เราก็เป็นแค่มดตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งในเมืองเล็ก ๆ Wollongong ที่ทุกคนจะทำอะไรที ก็ต้องเดินทางเข้าไปทำใน Sydney สมัยก่อนระบบ online ของอิมมิเกรชั่นยังไม่ได้ดีขนาดนี้ วีซ่าหลาย ๆ subclass ยังต้องยื่นเป็น paper-based application ซึ่งเราส่งเป็น Express Post จาก Wollongong ไป Sydney, 1 วันถึง ช่วงปีแรก ๆ ก็ประมาณว่า ใครติดต่อมาให้ทำอะไรก็ทำหมด เราไม่ได้เป็น student agent ดังนั้นการทำวีซ่านักเรียนของเราก็ต้องคิดค่าบริการ เพราะเราไม่ได้ค่า commission จากทางโรงเรียน เด็ก ๆ UOW ที่รู้จักกัน เราต่อให้หมด ฟรี ๆ น้องแค่จ่ายค่าสมัครเอง ค่าบริการของ student visa ของเราเมื่อปี 2010; เราคิดแค่ case ละ $300.00 อันนี้คือค่าบริการของเรา ค่าสมัครวีซ่าของอิมมิเกรชั่นสมัยนั้น อยู่ที่ $550.00 เราไม่ได้ทำงาน migration เป็นงานหลัก เรามีงานอื่นอยู่แล้ว เราก็ทำงานของ "J Migration" เป็นงานเสริมมากกว่า เป็น freelance, เป็น pocket money application อะไรต่าง ๆ เราก็จะส่งไปทางไปรษณีย์ เพราะเราก็อยู่ที่ Wollongong ไม่สะดวกในการเข้าไปยื่นเรื่องด้วยตัวเอง (แทนลูกค้า) ที่ Sydney; 26 Lee St case ทุก case ที่ทำ ปัญหาทุกอย่างอย่างที่เจอ มันก็สอนเราให้เรียนรู้อะไรเยอะอยู่เหมือนกัน เรียนรู้นิสัยคน ลึก ตื้น หนา บาง ภายนอกเป็นแบบหนึ่ง แต่พอได้เข้าไปสัมผัสแล้วถึงรู้ว่าเป็นอีกแบบหนึ่ง เราจึงระวังมากกับการทำงานกับคนไทย เราจะไม่สนิทกับใคร จะไม่สุงสิงกับใคร เพราะอย่างที่บอกว่า เราก็มีงานอื่นของเราอยู่แล้ว และช่วงนั้นเราก็เรียนอะไรของเราอย่างอื่นไปด้วย ดังนั้น "J Migration" เป็นอะไรที่เราไม่ได้ concentrate เลยจริง ๆ งานนี้ไม่ใช่งานหลัก แล้วยิ่งปี 2009 เป็นปีที่เราเรียนหนักด้วย เรียน 2 มหาลัยซ้อนกัน (อย่าหาทำ) เราเรียนอักษรญี่ปุ่นปีสุดท้ายที่ UOW แล้วก็ดันไปเรียน full-time ของ USQ เพื่อที่จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือ สรุปคือปีนั้นเรียน 2 Uni พร้อมกัน; UOW part-time + USQ full-time แล้วก็มีฝึกสอนด้วย สอนวิชา computer และ Maths ดังนั้นงานของ "J Migration" จึงแทบจะไม่ได้ทำเลยจริง ๆ มันก็มีเข้ามาเล็ก ๆ หยิบ ๆ หย่อย ๆ และ student visa case นี้ เราจำขึ้นใจ กับค่าบริการ $300.00 เราทำทุกอย่าง ตั้งแต่ติดต่อโรงเรียน ขอ CoE กรอกใบสมัครโรงเรียนให้กับลูกค้า 17 July 2010 เป็นวันแรกและวันสุดท้ายที่เราต้องขับรถพาลูกค้าเข้าไปยื่นใบสมัคร student visa ด้วยตัวเอง ที่ Sydney office; 26 Lee St. สมัยก่อนมันยังเป็น DIAC อยู่เลย; Department of Immigration and Citizenship สมัยที่ทุกคนก็ต้องไปที่ 26 Lee St, Sydney. กดเอาบัตรคิว แล้วก็ขึ้นไปแต่ละชั้น แยกกันตามวีซ่า subclass สมัยก่อนมันยังมี human interaction อยู่ คนสามรถเดินไปขอ application form ที่ 26 Lee St ได้ สมัยนี้ หมดสิทธิ์จ๊ะ ทุกอย่าง online ปรกติ case ทุก case เราก็ยื่นทางไปรษณีย์อยู่แล้ว case นี้ก็เหมือนกัน แต่เผอิญว่าลูกค้า (ญาติของนักเรียน) ต้องการใช้บัตร credit ของแฟนของญาติในการจ่ายค่าสมัครเอง แล้วเกิดปัญหารูดบัตรไม่ผ่าน ทางอิมมิเกรชั่นส่งเอกสารทุกอย่างกลับมา ที่เด็ดไปกว่านั้นก็คือวีซ่าของเด็กคนนี้จะหมดวันที่ 17 July 2010 ดังนั้นเราก็ต้องพาเด็กคนนี้ + ญาติ ขับรถจาก Wollongong เข้าไปที่อิมมิเกรชั่นที่ Sydney เข้าไปยื่นด้วยตัวเอง ณ วันที่ 17 July 2010 นี่แหละ วันที่วีซ่าของน้องเขาจะหมด เรารูดบัตร credit เราก่อน น้องคนนั้นก็ถือว่าโชคดีไป ไม่กลายเป็นคนวีซ่าขาด ถ้าขับรถไปไม่ทัน 5pm ก็คงแย่ จากวันนั้น ถึงวันนี้ มันก็ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ต้องเชื่อลูกค้ามาก บอกว่าจะใช้บัตรคนโน้นจ่าย คนนี้จ่าย ทุกวันนี้ เงินมาก่อน แล้วเราใช้บัตรเรารูดให้ ไม่มีปัญหาแน่นอน เมื่อมองเหตุการณ์ ณ วันนั้น จากวันนี้ มันก็ทำให้เราขำตัวเองนะ ทำอะไรลงไปบ้าง ด้อยประสบการณ์ เขาว่ายังไงก็ยังงั้น ปฏิเสธคนยังไม่เป็น case ละ $300.00 ถือว่าเป็น pocket money มากกว่า ถ้าเป็นสมัยนี้ 2020 ก็คงไม่ได้ราคานี้แล้วหละจ๊ะ นั่ง clear เอกสารไป ความทรงจำเก่า ๆ มันก็แว๊ปเข้ามา ตรวจร่างกาย ฟอร์ม 26 X-Ray ฟอร์ม 160 ไม่มีหรอกระบบ online; HAP ID นั่น นี่ โน่น มันเหมือนโลกคนละใบ ณ วันนี้ เรามาไกลมากแล้ว เราก็ต้องไม่ลืมวันที่เราลำบาก วันที่เราทำ student visa, case ละ $300.00 Partner Visa; $1,900.00 (อ่านไม่ผิดจ๊ะ ราคานี้จริง ๆ) ทุกการเดินทาง มันมีจุดเริ่มต้นเสมอ ทุกอย่างค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป โปรดอย่าเห็นเราเฉพาะตอนที่เราอยู่บนที่สูงแล้ว... หากใครคิดจะทำอะไรวันนี้ ทำเลย อย่าคิดนาน ทุกอย่างต้องมีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของมันเสมอ เหนื่อยได้ ท้อได้ พักได้ แต่อย่าหยุด |
AuthorJohn Paopeng Archives
January 2025
Categories |