ชีวิตของ "J Migration Team" กว่าจะมาถึงจุดนี้ ไม่ง่าย
วันก่อนเรานั่ง clear เอกสารอะไรต่าง ๆ ของพวก case เก่า ๆ ที่ยังเป็นพวก paper-based application พวกก่อนปี 2015 เพราะตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา เอกสารของเราทุกสิ่งอย่างเป็น 100% digital หมดเลย แล้วก็เก็บไว้ใน cloud เป็นอย่างดี ไม่มีการสูญหาย เอกสารพวก pre-2015, เราก็ scan แล้วเก็บเอาไว้ ซึ่งก็มีไม่เยอะหรอก เพราะ pre-2015 เราไม่ได้ busy ขนาดนี้ pre-2015 เราก็ทำงานคนเดียว 2015 - 2016 เราก็ทำงานคนเดียว เริ่มยุ่งนิด ๆ 2017 ถึงเริ่มมีทีมงานเข้ามาช่วย ตอนนี้ ปี 2020 เราก็เป็น "the team of 8" วันก่อนตอนที่นั่ง clear เอกสาร อันไหนพอ scan เก็บเอาไว้เราก็ scan อันไหนควรทิ้งเราก็ทิ้ง กระดาษก็เอามา recycle เพื่อ print อีกด้านหนึ่งได้ เราก็เห็นแฟ้มเอกสารของ student visa อันหนึ่ง โอ๊ว... 17 July 2010; 10 ปีที่แล้ว วันนั้นเราจำขึ้นใจ case นี้เป็นของคนใกล้ตัว... เขียนได้ :) เราเรียนจบ Australian Immigration Law และได้หมายเลข MARN มาเมื่อปี 2008 แต่ก็ไม่ได้คิดจะเปิดบริษัททำอะไรจริงจัง คิดแค่ว่าต้องการทำเรื่องขอ PR ให้คนใกล้ตัว ให้คนรอบข้าง และก็ทำ "ฟรี" ไม่ได้กะที่จะทำเป็นการค้าหรือธุรกิจอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเราก็มีงานและธุรกิจอย่างอื่นของเราอยู่แล้ว ที่ตั้งใจไปเรียนเพิ่มเพราะว่ามันก็ใช้ HECS ได้ เราเป็น citizen ไม่ต้องจ่ายค่าเทอม และก็คิดง่าย ๆ แค่ว่าเราต้องการมี MARN เพื่อที่จะทำเรื่องขอ PR ให้กับพนักงานของเรา เพราะตอนไปทำเรื่องวีซ่าทำงาน subclass 457 สมัยนั้น เขา quote ราคามาที่ $5,500.00 (เมื่อประมาณปี 2005/2006 ซึ่งก็เป็นราคาที่สูงพอสมควรในสมัยนั้น) ที่เราไปเรียนเพิ่ม เราก็แค่ต้องการทำ PR ให้กับพนักงานของเรา เราไม่ต้องการไปจ้างบริษัทใหญ่ใน Sydney เพื่อให้เขาทำวีซ่าให้กับพนักงานของเรา เราคิดแค่นั้นจริง ๆ คิดเอาง่าย ๆ แค่ว่าทำวีซ่าให้กับคนรอบข้าง ให้กับพนักงานของเรา และก็ไม่เคยคิดตังค์ ตอนนั้นคิดง่าย ๆ แค่ว่าต้องการประหยัดตังค์ $5,500.00 ก็แค่นั้นเอง พอได้ MARN มาสักพัก เพื่อนสนิทชาวสิงคโปร์ก็มาเที่ยวออสเตรเลีย มาพักที่บ้าน เขาก็เตือนสติว่า เฮ้ย ไม่ได้นะ เราอุตส่าห์ไปเรียนมา ก็เอาความรู้ เอา MARN มาใช้ประโยชน์หน่อยก็ดี จะได้ลูกค้ามากหรือได้ลูกค้าน้อยก็ว่ากันไป ดีกว่าได้ MARN มาแล้วไม่ทำอะไรเลย เมื่อปี 2008, คนทำงานทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่นที่มี MARN อย่างถูกต้องมีแค่ประมาณ 4,500 คน (ปีนี้ 2020, มีประมาณ 8,000 กว่าคน) ทั่วประเทศออสเตรเลีย เออ ทำไมเราต้องรอให้เพื่อนมาบอกเนี๊ยะ แต่ตอนนั้นเรายังเด็กมาก ไม่ได้คิดอะไรจริง ๆ เราเองก็ยุ่ง ๆ อยู่กับงานอย่างอื่นของเราอยู่แล้ว ไม่ได้คิดว่าต้องมีอาชีพเสริม หรือทำอะไรเพิ่ม ปี 2008-2009 เราก็ทำกันฟรี ๆ ให้กับคนที่รู้จักกัน ให้กับรอบข้างมากกว่า เราก็คิดเอาง่าย ๆ แค่ว่าคนที่ Wollongong จะได้ไม่ต้องเข้าไปที่ Sydney อีกต่อไป อย่างน้อย ๆ ตัวเราเองและคนรอบข้างก็ไม่ต้องไปหละวะ คนอื่นเขายังอยากจะไป Sydney ก็เรื่องของเขา แต่ก่อนคิดแค่นี้จริง ๆ ด้วยความที่ว่าเราก็เด็กมาก และเราก็มีอาชีพอื่น มีธุรกิจอื่นอยู่แล้ว ตอนที่เราเริ่มทำใหม่ ๆ เราก็เป็นแค่มดตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งในเมืองเล็ก ๆ Wollongong ที่ทุกคนจะทำอะไรที ก็ต้องเดินทางเข้าไปทำใน Sydney สมัยก่อนระบบ online ของอิมมิเกรชั่นยังไม่ได้ดีขนาดนี้ วีซ่าหลาย ๆ subclass ยังต้องยื่นเป็น paper-based application ซึ่งเราส่งเป็น Express Post จาก Wollongong ไป Sydney, 1 วันถึง ช่วงปีแรก ๆ ก็ประมาณว่า ใครติดต่อมาให้ทำอะไรก็ทำหมด เราไม่ได้เป็น student agent ดังนั้นการทำวีซ่านักเรียนของเราก็ต้องคิดค่าบริการ เพราะเราไม่ได้ค่า commission จากทางโรงเรียน เด็ก ๆ UOW ที่รู้จักกัน เราต่อให้หมด ฟรี ๆ น้องแค่จ่ายค่าสมัครเอง ค่าบริการของ student visa ของเราเมื่อปี 2010; เราคิดแค่ case ละ $300.00 อันนี้คือค่าบริการของเรา ค่าสมัครวีซ่าของอิมมิเกรชั่นสมัยนั้น อยู่ที่ $550.00 เราไม่ได้ทำงาน migration เป็นงานหลัก เรามีงานอื่นอยู่แล้ว เราก็ทำงานของ "J Migration" เป็นงานเสริมมากกว่า เป็น freelance, เป็น pocket money application อะไรต่าง ๆ เราก็จะส่งไปทางไปรษณีย์ เพราะเราก็อยู่ที่ Wollongong ไม่สะดวกในการเข้าไปยื่นเรื่องด้วยตัวเอง (แทนลูกค้า) ที่ Sydney; 26 Lee St case ทุก case ที่ทำ ปัญหาทุกอย่างอย่างที่เจอ มันก็สอนเราให้เรียนรู้อะไรเยอะอยู่เหมือนกัน เรียนรู้นิสัยคน ลึก ตื้น หนา บาง ภายนอกเป็นแบบหนึ่ง แต่พอได้เข้าไปสัมผัสแล้วถึงรู้ว่าเป็นอีกแบบหนึ่ง เราจึงระวังมากกับการทำงานกับคนไทย เราจะไม่สนิทกับใคร จะไม่สุงสิงกับใคร เพราะอย่างที่บอกว่า เราก็มีงานอื่นของเราอยู่แล้ว และช่วงนั้นเราก็เรียนอะไรของเราอย่างอื่นไปด้วย ดังนั้น "J Migration" เป็นอะไรที่เราไม่ได้ concentrate เลยจริง ๆ งานนี้ไม่ใช่งานหลัก แล้วยิ่งปี 2009 เป็นปีที่เราเรียนหนักด้วย เรียน 2 มหาลัยซ้อนกัน (อย่าหาทำ) เราเรียนอักษรญี่ปุ่นปีสุดท้ายที่ UOW แล้วก็ดันไปเรียน full-time ของ USQ เพื่อที่จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือ สรุปคือปีนั้นเรียน 2 Uni พร้อมกัน; UOW part-time + USQ full-time แล้วก็มีฝึกสอนด้วย สอนวิชา computer และ Maths ดังนั้นงานของ "J Migration" จึงแทบจะไม่ได้ทำเลยจริง ๆ มันก็มีเข้ามาเล็ก ๆ หยิบ ๆ หย่อย ๆ และ student visa case นี้ เราจำขึ้นใจ กับค่าบริการ $300.00 เราทำทุกอย่าง ตั้งแต่ติดต่อโรงเรียน ขอ CoE กรอกใบสมัครโรงเรียนให้กับลูกค้า 17 July 2010 เป็นวันแรกและวันสุดท้ายที่เราต้องขับรถพาลูกค้าเข้าไปยื่นใบสมัคร student visa ด้วยตัวเอง ที่ Sydney office; 26 Lee St. สมัยก่อนมันยังเป็น DIAC อยู่เลย; Department of Immigration and Citizenship สมัยที่ทุกคนก็ต้องไปที่ 26 Lee St, Sydney. กดเอาบัตรคิว แล้วก็ขึ้นไปแต่ละชั้น แยกกันตามวีซ่า subclass สมัยก่อนมันยังมี human interaction อยู่ คนสามรถเดินไปขอ application form ที่ 26 Lee St ได้ สมัยนี้ หมดสิทธิ์จ๊ะ ทุกอย่าง online ปรกติ case ทุก case เราก็ยื่นทางไปรษณีย์อยู่แล้ว case นี้ก็เหมือนกัน แต่เผอิญว่าลูกค้า (ญาติของนักเรียน) ต้องการใช้บัตร credit ของแฟนของญาติในการจ่ายค่าสมัครเอง แล้วเกิดปัญหารูดบัตรไม่ผ่าน ทางอิมมิเกรชั่นส่งเอกสารทุกอย่างกลับมา ที่เด็ดไปกว่านั้นก็คือวีซ่าของเด็กคนนี้จะหมดวันที่ 17 July 2010 ดังนั้นเราก็ต้องพาเด็กคนนี้ + ญาติ ขับรถจาก Wollongong เข้าไปที่อิมมิเกรชั่นที่ Sydney เข้าไปยื่นด้วยตัวเอง ณ วันที่ 17 July 2010 นี่แหละ วันที่วีซ่าของน้องเขาจะหมด เรารูดบัตร credit เราก่อน น้องคนนั้นก็ถือว่าโชคดีไป ไม่กลายเป็นคนวีซ่าขาด ถ้าขับรถไปไม่ทัน 5pm ก็คงแย่ จากวันนั้น ถึงวันนี้ มันก็ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ต้องเชื่อลูกค้ามาก บอกว่าจะใช้บัตรคนโน้นจ่าย คนนี้จ่าย ทุกวันนี้ เงินมาก่อน แล้วเราใช้บัตรเรารูดให้ ไม่มีปัญหาแน่นอน เมื่อมองเหตุการณ์ ณ วันนั้น จากวันนี้ มันก็ทำให้เราขำตัวเองนะ ทำอะไรลงไปบ้าง ด้อยประสบการณ์ เขาว่ายังไงก็ยังงั้น ปฏิเสธคนยังไม่เป็น case ละ $300.00 ถือว่าเป็น pocket money มากกว่า ถ้าเป็นสมัยนี้ 2020 ก็คงไม่ได้ราคานี้แล้วหละจ๊ะ นั่ง clear เอกสารไป ความทรงจำเก่า ๆ มันก็แว๊ปเข้ามา ตรวจร่างกาย ฟอร์ม 26 X-Ray ฟอร์ม 160 ไม่มีหรอกระบบ online; HAP ID นั่น นี่ โน่น มันเหมือนโลกคนละใบ ณ วันนี้ เรามาไกลมากแล้ว เราก็ต้องไม่ลืมวันที่เราลำบาก วันที่เราทำ student visa, case ละ $300.00 Partner Visa; $1,900.00 (อ่านไม่ผิดจ๊ะ ราคานี้จริง ๆ) ทุกการเดินทาง มันมีจุดเริ่มต้นเสมอ ทุกอย่างค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป โปรดอย่าเห็นเราเฉพาะตอนที่เราอยู่บนที่สูงแล้ว... หากใครคิดจะทำอะไรวันนี้ ทำเลย อย่าคิดนาน ทุกอย่างต้องมีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของมันเสมอ เหนื่อยได้ ท้อได้ พักได้ แต่อย่าหยุด ปี 2021 ใครมี idea ธุรกิจอะไรดี ๆ แต่ขาดทุนหรือคนลงทุน ทักมาได้
ขอให้เป็นธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้าน หรือ involve หน้าร้านหรือการเช่าพื้นที่จะดีที่สุด เราเน้นธุรกิจ online จ๊ะ เพราะโลกการทำธุรกิจมันเปลี่ยนไป ทักมาได้ ทำ business proposal เข้ามาได้ เราไม่ไปวุ่นวายเรื่องการบริหาร day-to-day operation ของ you เราต้องการเป็นแค่ investor แค่นั้นเอง จับเข่าคุยกัน ทักมาได้ หลังไมค์ "เครือข่ายบ้านคนไทย ที่ถูกกฏหมาย"
ฝาก weekend project ไว้ในอ้อมกอดของทุก ๆ คนด้วยนะครับ facebook group เครือข่าย "บ้านคนไทย" x 4 มีการจดทะเบียนการค้ากับ ASIC อย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลีย ไม่มโน ไม่จกตา ไม่มี Admin จากอเมกา Admin ใช้รูป profile จริง ไม่มี Admin เด็กเมื่อวานซืนก๋ากั่นวิ่งพล่านให้กวนใจ เป็นเขตปลอดการเมือง ปลอดเผือก post ได้เสรี แค่ be nice to each other ก็พอ อันไหนไม่ดี เดี๋ยว moderators เราจะลบเอง เรามี moderators เยอะมากจ๊ะ เข้าไปดูกันได้ มา ๆ เข้ามาอยู่ด้วยกัน Links ของทั้ง 4 groups: - "บ้านคนไทยในซิดนีย์": https://www.facebook.com/groups/bannkhonthai.sydney - "บ้านคนไทยในออสเตรเลีย": https://www.facebook.com/groups/bannkhonthai.australia - "บ้านคนไทยในบริสเบน": https://www.facebook.com/groups/baankhonthai.brisbane - "บ้านคนไทยในเมลเบิร์น": https://www.facebook.com/groups/baankhonthai.melbourne และตอนนี้ก็มีคลอดเพิ่มมาอีกหนึ่งจากน้อง "Kitty" ที่ Sunshine Coast #QLD น้องเก่งมาก กล้ามาก ขอบใจ น้องจด ASIC ถูกต้องตามกฎหมายด้วยเช่นเดียวกัน ยอมใจนางเหมือนกันจ๊ะ "ครอบครัว J" ต้องกล้าและบ้าด้วย ถึงจะทำได้ ฝากกลุ่มของน้อง "Kitty" ด้วยนะครับ - "บ้านคนไทยในซันชายน์โคสต์" https://www.facebook.com/groups/baankhonthai.sunshinecoast ตอนนี้กลายเป็น 4+1 แล้ว :) "อย่านะจ๊ะ อย่านะจ๊ะ" ด่ากันไปก็ไม่แคร์นะจ๊ะ คนอย่าง J ไม่เคยคิดเศร้าโศก คนแบบเราให้ชูมือขึ้นฟ้า แคร์ประไรก็มั่นหน้ามั่นโหนก แรงแบบ J มีชีวิตชีวา ด่ามาได้ขอแรงแรงนะจ๊ะ แต่เราด่ากลับนะ น้องดกทง อย่านะจ๊ะ อย่านะจ๊ะ หนูเข้าใจใช่มั้ยหนู อย่านะจ๊ะ อย่านะจ๊ะ หนูเข้าใจใช่มั้ยหนู Post นี้ เขียนและ post วันเสาร์-อาทิตย์ ไม่กระทบกับเวลาทำงานจ๊ะ โปรดแยกแยะ ในช่วงเหตุการณ์ของ COVID พวกเราได้เรียนรู้อะไรกัน
Employer vs Employee ใครที่อยู่เคียงข้างเรา นายจ้างคนไหนที่คอยช่วยเหลือและดูแลเรา เมื่อ COVID เริ่มคลี่คลาย นายจ้างหลาย ๆ คนก็หาพนักงานลำบาก เพราะพนักงานหลาย ๆ คนก็กลับประเทศกันหมดแล้ว เพราะทนแรงกดดันกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงตัว แต่รายได้ที่หดหาย คนเรามันก็วัดใจกันตอนลำบากนี่แหละ ในยามที่ COVID มา เขาตัด shift เราเลยทันทีมั้ย หรือเขาเก็บเราเอาไว้เป็นคนสุด ๆ ท้ายเลย เมื่อ COVID เริ่มคลี่คลาย เมื่อนายจ้างต้องการให้เราอยู่ช่วยทำงาน เราจะเลือกที่จะอยู่กับใคร ส่วนนายจ้างเอง เราก็เข้าใจ หลาย ๆ คนพอ COVID มาก็หยุดกิจการไปชั่วคราวเพื่อลดค่าใช้จ่าย หลาย ๆ คนก็พยุงเปิดไป เพื่อช่วยเหลือและดูแลพนักงาน มันก็น่าเห็นใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายนะครับ เราเอาใจช่วยทุกคน ทุกฝ่าย บางธุรกิจก็ boom เอา boom เอา สวนกระแส COVID COVID-19 ได้สอนอะไรเราบ้าง เราไปทำงานที่ Brisbane office และที่ Gold Coast office; 14 - 17 Dec 2020
4 วันของการทำงานที่ QLD เราได้เรียนรู้อะไรมากมาย 6 วันของการเดินทาง เราเดินทางก่อนวันทำงาน 1 วัน และเดินทางกลับหลังวันทำงาน 1 วัน ไม่ได้เดินทางวันทำงานเหมือนแต่ก่อนแล้ว ที่ต้องตื่นตี 3, ออกจากบ้าน ตี 4, ขึ้นเครื่อง 6:30am ถึง Brisbane 8am นั่ง Uber เข้า office 8:30am เจอลูกค้า 9am แล้วก็บินกลับหลังจากที่ทำงานเสร็จเลยวันนั้น บินกลับประมาณ 2 ทุ่มครึ่ง ถึง Sydney 4 ทุ่ม ถึงบ้าน 5 ทุ่ม อะไรประมาณนี้ เราเลิกทำอะไรพวกนั้น ใด ๆ ทั้งปวง เลิกแล้วชีวิตฉุกละหุกพวกนั้น 4 วันของการทำงานที่ QLD; Brisbane & Gold Coast เราได้เรียนรู้อะไรมากมาย เรารับรู้ได้ถึงการมีน้ำใจของ "ครอบครัว J" หลาย ๆ คนที่ Brisbane ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ก็มีอยู่กลุ่มเดียวแหละ เพราะปรกติเราก็ไม่ไปสุงสิงอะไรกับใครอยู่แล้ว หลาย ๆ คนก็กลายเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของครอบครัว เป็นพี่ เป็นน้องกัน เรารู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง ส่วนที่ Gold Coast อาหารเที่ยงปรกติก็จะเป็นอะไรง่าย ๆ ที่ cafe ใต้ตึก ใต้ office dinner ส่วนมากก็จะไปทานอะไรคนเดียวที่ Huricane's Grill แต่วันสุดท้ายที่ทำงานที่ Gold Coast office; Thu 17 Dec เราก็ไม่ได้ออกไปกินอะไรที่ไหนเลยเพราะ: - เมื้อเที่ยง ทานก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นที่น้อง "someone" ทำให้ตอน Wed 16 Dec ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นอร่อยมาก แต่ก็แอบสงสารวัวนิดหนึงที่เราต้องไปคร่าชีวิตเขา คราวหน้าขอแต่น้ำซุบเนื้อตุ๋นนั่นแหละ + เส้น + ผัก แต่ไม่เอาเนื้อจะได้มั้ย??? (ไม่ได้เป็น vegetarain แต่ก็พยายาม ลด ละ เลิก เท่าที่ทำได้) - เมื้อเย็น กะว่าจะไปนั่งชิล ๆ พักผ่อนที่ Huricane's Grill ที่ประจำของเรา ก็มีน้องทำ ต้มมะระกระดูกหมู + ข้าว riceberry อันนี้ก็อร่อยไปอีก ก็ heat it up ที่ office แล้วถือกลับมาทานที่โรงแรม เออ สรุป มีแต่คนดูแล, เช่นเดียวกัน ก็แอบสงสารหมูเหมือนกัน ที่เราต้องไปคร่าชีวิตเขา ถ้าเป็นต้มมะระผักเต้าหู้ ก็น่าจะ OK นะ (เรื่องมากหรือเปล่านะ) เราไปทำธุระที่ Post office ก็ไปเจอหนึ่งใน "ครอบครัว J" ซึ่งน้องทำงานอยู่ที่นั่น เราก็ได้รับการต้อนรับและการดูแลที่ดีที่ post office วันรุ่งขึ้น (เมื่อวาน) ก็ตั้งใจจะแวะไปวัดไทยที่ Gold Coast ก่อน ก่อนไปที่สนามบิน ก็มีน้องอยากจะแวะเข้ามาพูดคุย (ไม่เกี่ยวกับวีซ่า) ทักทาย น้องก็ช่วยขับรถไปส่งที่วัดอีก บางทีก็ไม่รู้ว่าเราจะขอบคุณทุกคนยังไง มันเยอะ มันมากมายไปหมด นี่หรือเปล่านะ ที่เขาเรียกว่า "สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก" นี่หรือเปล่านะ ที่เขาเรียกกันว่า おかげ さま で ฝาก weekend project ไว้ในอ้อมกอดของทุก ๆ คนด้วยนะครับ
facebook group เครือข่าย "บ้านคนไทย" x 4 มีการจดทะเบียนการค้ากับ ASIC อย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลีย ไม่มโน Admin ใช้รูป profile จริง ไม่มี Admin เด็กเมื่อวานซืนก๋ากั่นวิ่งพล่านให้กวนใจ เป็นเขตปลอดการเมือง post ได้เสรี แค่ be nice to each other ก็พอ อันไหนไม่ดี เดี๋ยว moderators เราจะลบเอง เรามี moderators เยอะมากจ๊ะ เข้าไปดูกันได้ มา ๆ เข้ามาอยู่ด้วยกัน Links ของทั้ง 4 groups: - "บ้านคนไทยในออสเตรเลีย": https://www.facebook.com/groups/bannkhonthai.australia - "บ้านคนไทยในบริสเบน": https://www.facebook.com/groups/baankhonthai.brisbane - "บ้านคนไทยในเมลเบิร์น": https://www.facebook.com/groups/baankhonthai.melbourne - "บ้านคนไทยในซิดนีย์": https://www.facebook.com/groups/bannkhonthai.sydney Post นี้ เขียนและ post วันเสาร์-อาทิตย์ ไม่กระทบกับเวลาทำงานจ๊ะ โปรดแยกแยะ เมื่อ facebook group ของ "บ้านคนไทยในซิดนีย์" ที่มีสมาชิกมากกว่า 70K โดนปิดไป
เราก็ตะหงิดตะหงิดใจอยู่แล้วแหละ มันต้องมีอะไรในกอไผ่ ทำเป็นคนทำสื่อ เรารู้ถึงความเจ็บปวดของคนที่ถูกทำร้าย ใครไม่เจอ ไม่มีทางได้รู้ เราเห็นฝ่ายหนึ่งใช้ "เผือก" เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ เป็นกระบอกเสียง แต่อีกฝ่ายหนึ่งทำอะไรมากไม่ได้ ได้แต่ใช้พื้นที่อันน้อยนิดของตัวเองในการอธิบาย แต่ "เผือก" ก็มีคนประมาณ 40K ก็คงคิดว่าตัวเองมีฐานเสียง เสียงดังกว่า ถูกต้องหรือเปล่าหนะอีกเรื่องหนึ่ง "เผือก" ก็มีตรรกะของเผือกแหละ ขี้เกียจฟัง เพราะ "เผือก" ก็ไหลไปได้เรื่อย ๆ ก็เอาเป็นว่าต่างฝ่ายต่างมีตรรกะของใครก็แล้วกัน แต่ anyway, วันนี้เราไม่ได้พูดเรื่อง "เผือก" เราขอ focus มาที่ "บ้านคนไทยในซิดนีย์" ที่ถูกรัฐประหารโดยกลุ่มของคนไทยในอเมกา โดยมีกองทัพ "เผือก" หนุนหลัง ก็ลองไปดูสิ มีใครเป็น moderators บ้าง น่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดี ตรรกะของกลุ่มคนไทยในอเมกาคือเขาบอกว่าเขามีลิขสิทธิ์ในการใช้ชื่อนี้ hmmm.... ลิขสิทธิ์ไกลถึงออสเตรเลียเลยน๊อ ที่บ่น ๆ กันว่าพราะเจ้าอยู่หัวจะบริหารประเทศจากประเทศเยอรมันนี แต่เอ๊ะ พวกเธอก็กำลังทำกันเองหรือเปล่า เมื่อ Admin ของ "บ้านคนไทยในซิดนีย์" จากที่มีสมาชิก 70K กว่าคนในนั้น ต้องระเหไร่ร่อน ซมซานมาเปิดบ้านหลังใหม่ ตอนนี้ใช้ชื่อ "คนไทยซิดนีย์" สีสันสดไส ไฉไลกว่าเดิม มันเหมือน Chiang Kai-Shek หนีทหาร communist จีน มาเปิดประเทศ Taiwan ยังไงยังงั้น ใครไม่เจอก ไม่มีทางได้รู้ anyway.... ข้ออ้างของกลุ่มคนไทยในอเมกา คือ "เขามีลิขสิทธิ์" ในการใช้ชื่อ ได้เลย ของแบบนี้มันต้องท้าพิสูจน์ เราก็เลย register บริษัทและ trading name กับ ASIC ซะเลย อ่านไม่ผิดจ๊ะ P' J จดเป็นบริษัทเลย เอ๊า ก็จะได้รู้ ๆ กันไปเลยไง ว่ามีลิขสิทธิ์จริงมั้ย และก็เปิด facebook group ใช้ชื่อเดียวกันเป๊ะเลย ให้คนมันสับสนไปเลย ให้ตลาดมันปั่นป่วนไปเลย สร้างความร้าวฉานคืองานของเราหรือเปล่า เอ่อ ก็แค่อยากจะบอกว่า จำนวนคนที่อยู่ในกลุ่ม "ค_ยไทยอร่อยดี" หนะ 27K ก็จริง แต่เขาก็เปลี่ยนชื่อกลุ่มมาจาก: - บ้านครัวไทยต่างแดน (11 Jan 2017) - บ้านคนไทยครัวต่างแดน (15 Jan 2017, 4 วันเปลี่ยนชื่อ) - บ้านคนไทยในซีดนีย์ (15 Oct 2020) "ค_ยไทยอร่อยดี" คงสะกดผิดมาจาก "ครัวไทยอร่อยดี" https://www.facebook.com/groups/kuaythaiaroydee คนที่อยู่ในนั้นก็จะเป็นคนมาจากอเมกามากกว่า ยังมีคน post หาพนักงานที่ California อยู่เลย... โอ๊ว... คุณพระ คนไทยในซิดนีย์หรือคนไทยในออสเตรเลียจะเข้าไปจริง ๆ ก็ช่วย Oct 2020 หลังจากที่ post แล้ว post อีก re-run แล้ว re-run อีกในกลุ่มของ "เผือก" ไม่บอกก็รู้ว่าใครหนุนหลัง "เผือกไทยในออส" เขาบอกว่าไม่ post เรื่องการเมือง เรื่องศาสนา ตอนนี้ "บ้านคนไทยในซิดนีย์" ก็ค่อย ๆ กลายพันธุ์เป็นกลุ่มของการเมืองเล็ก ๆ ไปแล้ว ค่อย ๆ คลืบคลานเข้ามา ดูจาก post ของ Admin จากอเมกาเองก็ดูออก ดูออกแหละ ว่ามี agenda อะไร มองมากกว่าที่ตาเห็น ฟังมากกว่าที่เคยได้ยินนะจ๊ะทุกคน hmmm..... เรื่องการเมือง แตกต่าง แต่ไม่แตกแยกนะจ๊ะหนู ๆ จ๋า แต่ที่ผ่านมา เราก็พอจะเห็นแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น แค่เรื่องงานวันที่ 05 ธันวา ก็เป็นเรื่องราว drama ใหญ่โต ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว เราก็เลยเลือกเอาวันที่ 05 ธันวานี่แหละ "พร้อมชน" เปิด facebook group ใช้ชื่อเหมือนกันเป๊ะเลย ขึ้นมา 4 กลุ่ม: - "บ้านคนไทยในออสเตรเลีย" - "บ้านคนไทยในซิดนีย์" - "บ้านคนไทยในบริสเบน" - "บ้านคนไทยในเมลเบิร์น" ใช่จ๊ะ ใชื่อเดียวกันเป๊ะเลย ให้มันสับสนกันไปเลย ต่อให้ไม่มี activity อะไรในนั้น เราก็จะเปิดทิ้งเอาไว้อย่างนี้แหละ เป็นก้างขวางคอของพวกนั้น #ออสซี่ขยี้ความอยุติธรรม #WollongongAlliance.... ว่าซั้น Links ของทั้ง 4 groups: - "บ้านคนไทยในออสเตรเลีย": https://www.facebook.com/groups/bannkhonthai.australia - "บ้านคนไทยในบริสเบน": https://www.facebook.com/groups/baankhonthai.brisbane - "บ้านคนไทยในเมลเบิร์น": https://www.facebook.com/groups/baankhonthai.melbourne - "บ้านคนไทยในซิดนีย์": https://www.facebook.com/groups/bannkhonthai.sydney อย่างน้อยก็สะกดถูกแหละวะ ไม่สะกดเป็น "ค_ยไทยอร่อยดี" Admin ในรูป profile จริงจ๊ะ ไม่มีอวตาล: - "เจ้มอย ซอย ยิกยิก" - "แอนนา ลามานอน" - "กันย่า ชายสี่" ตุ๊กตาสีม่วง #รู้แหละว่าใคร แต่ไม่ได้ติดใจอะไร นอกจากใครจะมาสะกิดแผลเก่า อวตาล ชอบเล่านิทาน เป็นปริศนามานานเรื่องราวมากมี นั่งฟังแล้วห้ามกล่าขาว ปริศนาอวตาลคบคิดดูให้ดี ทุก Group ตั้งเป็น auto approved อยากจะ post อะไรเราไม่ว่า ขอแค่ไม่มาสร้างความวุ่นวายหรือก่อกวน อยากจะขายอะไร เราไม่ว่า ขอแค่ถูกกฎหมาย และไม่ทำอะไรผิดกฏของ facebook พวกรูปโป๊เปลือย หรือพวก hate speech อะไรประมาณนั้น ใช้ commen sene หนะจ๊ะ If you don't say this to your grandma, you don't say this to others as well. อันไหนไม่ดี เรากับ Moderators จะลบออกเองจ๊ะ เราก็ไม่เคยทำอะไรแบบนี้ ก็จะค่อย ๆ เรียนรู้กันไป ปรกติก็ทำงานยุ่งอยู่แล้ว อันนี้ก็ถือว่า weekend hobby ก็แล้วกัน ใครเบื่อ drama จากห้อง "บ้านคนไทยในซิดนีย์" by KuayThaiAroyDee ก็ขอเชิญทางนี้เลยครับ "บ้านคนไทยในซิดนีย์" ที่มีการจดทะเบียนบริษัทถูกต้องกับ ASIC #มวยถูกคู่ Post นี้ เขียนและ post วันเสาร์-อาทิตย์ ไม่กระทบกับเวลาทำงานจ๊ะ โปรดแยกแยะ เมื่อการประท้วงที่เริ่มจะดูแปลก ๆ
จากที่แต่ก่อนที่ดูเหมือนจะมีจุดยืนทางการเมือง ต้องการประชาธิปไตยแบบโปร่งใส ซึ่งก็ถือว่าดี แต่ทำไมตอนนี้ topic มันเปลี่ยนไป กลายไปเป็นการจ้องไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ค่อยเกี่ยวกับประชาธิปไตยเท่าไหร่ละ มันดูแปลก ๆ นะ การประท้วงดูหยาบคายมากขึ้น เอ๊ะ หรือว่าทุกการประท้วงที่ผ่านมา มันก็เป็นแบบนี้ แต่เราไม่ได้สนใจ ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงของเสื้อเหลือง เสื้อแดง เราก็ไม่เคยสนใจ เพราะเราก็ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ก็เลยไม่ได้ความสำคัญอะไรมาก แต่การประท้วงคราวนี้มันก็ไม่เหมือนอะไรที่ผ่านมา ก็เลยมอง ๆ ดูอยู่ห่าง ๆ ใครจะแสดงออกความคิดเห็นอะไรยังไง มันก็ทำได้ ไม่เราคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้คำหยาบ และการเราจะเรียกใครว่า "ติด hee" หรือ "ติด humm" เนี๊ยะ เราคิดว่ามันไม่ควรนะ ถ้าไม่ติด hee ติด humm คนก็คงไปบวชเป็นพระกันหมดแล้วละ พระบางรูปยังติด he ติด hum กันอยู่เลย ตัดกิเลสยังไม่ขาดก็มีเยอะแยะ นับประสาอะไรกับเราปุถุชนธรรมดา คนเราไม่มีใครจะเลวได้ตลอดชีวิต หรือดีตลอดชาติ บางทีเราก็ให้โอกาสคนอื่นด้วย การเปลี่ยนแปลง บางทีมันก็ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปหรือเปล่านะ ยังไม่ได้คืบเลย จะเอาศอกซะละ ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปจะดีกว่าหรือเปล่านะ ไหนบอกว่าต้องการปฏิรูปไง แต่ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นการหักดิบเข้าทุกวัน ส่วนใครจะ "ติด hee" หรือ "ติด humm" นั้น บางทีเราก็ต้องถามตัวเราเองด้วยว่า ตัวเราเองนั้น "ติด hee" หรือ "ติด humm" ด้วยหรือเปล่า หรือว่าถือศีลพรหมจรรย์ ก่อนที่เราจะไปว่าอะไรใคร เราต้องดูที่ตัวเราด้วยว่า เราดีกว่าเขาหรือเปล่า สมมุติว่า ถ้าเราอยู่ในสถานะเดียวกันกับเขา เราจะทำได้ดีกว่าเขาหรือเปล่า หรือว่าจะแย่กว่า บางทีคนเราก็ไม่ต้องไปบอกไปสอนใครคนอื่นหรอก เอาตัวเองให้รอดก่อนเถอะ หนูจ๋า การที่หนูออกมาเรียกร้องอะไร มันก็ดีนะ เป็นการแสดงทางความคิดที่พวกหนูเลือก ๆ กัน ซึ่งก็ดีแล้ว ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น
เก่งมาก กล้ามาก แต่ไม่ขอบใจ เพราะพี่ไม่ต้องการอะไร ชีวิตมีความสุขดี ไม่ได้รวย แต่ว่าพอเพียง I am enough และใช้ชีวิตอยู่แบบ minimalist freedom of speech กับ hate speech มันต่างกันนะหนู เหมือนที่หลาย ๆ คนบอกว่า ปฏิรูปกับล้มล้างไม่เหมือนกันนั่นแหละ ไม่ว่าเราจะอยู่ประเทศไหน เราก็ไม่มีสิทธิ์ไปไล่ใครทั้งสิ้น เพราะเราไม่ใช่ Peter Dutton ลุง ๆ ป้า ๆ ที่อยู่ที่นี่หลาย ๆ คนอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้สวัสดิการของรัฐที่นี่เลยก็ได้ หรือเขาอาจจะเสียภาษีเยอะมาก ๆ ก็ได้ หรือถ้าเขาจะกลับไปอยู่เมืองไทย เขาก็อาจจะไม่จำเป็นต้องให้ใครมาเลี้ยงเหมือนพวกที่พวกหนู ๆ เข้าใจก็ได้ ลุง ๆ ป้า ๆ หลาย ๆ คนเขาก็อาจจะมี passive income มากพอจากการทำงานหนักและการลงทุนของพวกเขา เขาสามารถใช้ชีวิตแบบ comfortable ไม่รวย แต่ไม่เบียดเบียนรัฐบาลก็ได้ เราจะกล่าวถึงใคร เราจะต้องไม่เหมารวม ไม่ stereotype นะหนู จะว่าใครก็ว่าเป็นบุคคลไปเลย individual ไปเลย อย่ารวมเหมาหมู่ ประท้วงและแสดงออกความคิดเห็นได้ แต่ต้องไม่หยาบคาย ไม่ไป bully ใคร "จอห์น ดอกจิก" 02/12/2020 |
AuthorJohn Paopeng Archives
October 2024
Categories |