จอห์น เผ่าเพ็ง เพราะฉะนั้น
  • Blog; journal of life
  • Daddy Diary
  • Investment Diary
  • Business Tips and Tricks
  • ข้างขอบเตียง Cancer
  • ครูไทยในต่างแดน
  • ebooks
  • About
  • กราบขอบคุณ

Australia: มหาวิทยาลัย

14/8/2022

Comments

 
Picture
มหาวิทยาลัยที่ประเทศออสเตรเลีย ไม่มีความเหลื่อมหล้ำกันจริงเหรอ??
ถามหลายคนก็ได้หลายคำตอบที่แตกต่างกันออกไปครับ
แล้วแต่ประสบการณ์และมุมมองของแต่ละคน

โดยเฉพาะกลุ่มโยกย้ายที่อวยออสเตรเลียกันไส้แตกไส้แตน
อะ... ไม่ว่ากัน ชอบเสพข้อมูลแบบไหนก็เลือกเอาแบบนั้น

โดยส่วนตัวและประสบการณ์ที่เรามีแล้ว เราบอกได้เลยว่ามหาวิทยาลัยที่ออสเตรเลียมีความเหลื่อมหล้ำกันครับ

ไม่ต้องอื่นไกลเลย มา fact check กันดีกว่า
Course เดียวกัน ต่างมหาลัย แต่ทำไมค่าเทอมแตกต่างกัน
มันสื่อถึงอะไร
คนที่เค๊าไม่พูด (เพราะเป็นมารยาททางสังคม) ไม่ได้ว่าเค๊าไม่ได้คิด 
อยู่ในโลกของความเป็นจริงครับ ประเทศออสเตรเลียน่าอยู่ครับ ไม่งั้นเราก็คงไม่อยู่ที่นี่ แต่ก็ไม่ได้อวยไส้แตกเหมือนข้อมูลตาม facebook group ต่าง ๆ กลุ่มโยกย้ายเอย กลุ่มทีมอะไรต่าง ๆ นานา


Course: Juris Doctor
RMIT: $111,744
Fliders Uni: $98,280 (ปีที่แล้ว $92,478)
Macquirie Uni: $43,890

เอ๊ะ ทำไมค่าเทอมมันแตกต่างกันหละ
​
บางคนก็อาจจะบอกว่า "แพงไม่ได้แปลว่าดี"
hmmm... เอาที่สบายใจจ๊ะ ยังไงก็ได้ ไม่ว่ากัน

ส่วน Bachelor degree ที่นี่
เด็กที่นี่ต้องมีคะแนน ATAR; 
Australian Tertiary Admission Rank ในการเข้ามหาวิทยาลัยครับ
บางคณะ บางมหาวิทยาลัย ATAR อยู่ที่ 98 ก็มี เพราะการแข่งขันสูงมาก ลองไปถามคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเค๊าเรียนที่ selective schools ดูนะครับ

Selective school คือโรงเรียนที่ต้องสอบเข้า
High school ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องสอบเข้า สมัครเข้าเรียนได้เลยตาม postcode หรือที่อยู่ของบ้านตัวเอง
ส่วน private school ก็ค่อนข้าง snob (ไม่ทุกคน)
ถ้าคุยเรื่อง high school ที่นี่ ครึ่งวันก็ไม่จบครับ

anyway... กลับมาที่มหาวิทยาลัย

เด็กที่นี่ ถ้าจะเข้าเรียน bachelor degree ที่นี่ ก็ต้องมี ATAR
ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะมีคะแนน ATAR ที่แตกต่างกัน
อ๊ะ... มันบ่งบอกถึงอะไร
คนเค๊าไม่พูด ไม่ได้แปลว่าเค๊าไม่คิด

ขนาดมหาลัยเดียวกัน
Faculty A: คะแนน ATAR เท่านี้
Faculty B: คะแนน ATAR เท่านั้น

เอาจริง ๆ นะ แบบไม่มโน
you กล้าให้วิศวะ คะแนน ATAR 70 สร้างบ้านให้ you หรือเปล่า
เปรียบเทียบให้มองเห็นภาพนะครับ เพราะสร้างบ้านจริง ๆ ก็ใช้ builder ก็พอ ไม่น่าต้องถึงมือวิศวะ

มหาวิทยาลัยเดียวกัน ทำไมคะแนน ATAR ไม่เท่ากัน
เราไม่พูด ไม่ได้แปลว่าเราไม่คิด

จบมหาลัยไหน ไม่มีผลต่อการสมัครงาน
OK... อันนี้เห็นด้วย 110%
เพราะมันมีกฎหมาย EEO; Equal Employment Opportunity อยู่

แต่...  แต่.... เพื่อนร่วมงานคิดนะ เพราะเราก็เป็นหนึ่งในนั้น
เราไม่พูด เพราะมันเป็นมารยาททางสังคม ไม่ได้แปลว่าเราไม่คิด
ถ้าเราคิด....  เอ๊ะ...  คนอื่นจะคิดแบบเราหรือเปล่านะ
เอาเป็นว่าปล่อยให้เป็นปริศนาก็แล้วน๊อ

เราเคยรับราชการครับ full-time ด้วย

รู้แต่ว่า behind the closed door ของแต่ละ department เขาก็อาจจะ "F off" คนที่อีก department หนึ่ง โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ ๆ 

เห็นและเจอมาหมดแล้วครับ
แซ่บมาก....
แต่คนใน department เดียวกัน พวกเราค่อนข้างรักกันมาก เป็น family 
แต่กับ department อื่น... บนใบหน้าที่ยิ้มให้กัน say hello, say "how are you" ตามมารยาทของฝรั่งที่นี่... you have no idea what they're thinking inside

บอกได้เลยครับ องค์กรใหญ่ ๆ 
แซ่บมาก
​politic กันทุกวัน

องค์กรที่เราทำอยู่ เป็นหน่วยงานของรัฐ
ข้าราชการของกระทรวงเราไม่มีเกษียณครับ (กระทรวงนี้ที่ NSW  เป็นแบบนี้ รัฐอื่นไม่รู้)
ทำงานได้จนตาย ไม่ต้องเกษียณราชการตอนอายุ 60 เหมือนเมืองไทย
ดังนั้นการแย่งตำแหน่งกันมันก็ต้องมีเป็นเรื่องปกติ

จบจากมหาลัยไหนก็ไม่มีผลต่อการสมัครงาน
แต่บริษัทหรือองค์กรสามารถเขียน selection criteria ตอนเปิดสมัครงานได้ว่าต้องการคนแบบไหน อะไรยังไง ถ้าองค์กรนั้นมีคนที่เค๊าต้องการอยู่แล้ว เขาก็เขียน selection criteria ให้ตรงกับคุณสมบัติของคน ๆ นั้นก็ได้ครับ ไม่ผิดกฎหมาย EEO

คนบางคนได้งานในกระทรวง เพียงเพราะพ่อเค๊าอยู่อีก department หนึ่ง
แต่ช่วงที่มาฝึกงาน hmmmm.... ถ้าเผื่อเป็นเรา เราปัดตกหนะจ๊ะ
เราเป็นคน certified JP เอกสารให้เค๊าเอง!!!

ได้งานไม่ได้ตรงกับสาขาที่เรียน
โอย.... ที่ไหนก็มีครับ
คำถามคือ...  แล้วทำไมไม่เรียนในสาขาที่เค๊าต้องการหละ

ช่วง COVID, ประเทศออสเตรเลียขาดแคลนแรงงานครับ
ในสายงาน professional เองก็เหมือนกัน
องค์กรใหญ่ ๆ ก็โดนไปด้วยเช่นเดียวกัน ขาดแคลนแรงงานกันทั้งนั้น
งานค่อนข้างหาง่าย

แต่หลังจากนี้....ไม่แน่... 

การมีคนออกมาให้กำลังจคนที่อยากโยกย้ายเป็นสิ่งที่ดีครับ
การมีคนออกมาเล่าเรื่องราวชีวิตและเส้นทางการโยกย้ายของเขาเป็นสิ่งที่ดีครับ

แต่คนเสพข้อมูลเองก็ต้องเสพกันหลาย ๆ ที่แล้วเปรียบเทียบกันด้วย
เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป

แต่ที่อวยกันไส้แตกไส้แตน.... hmmm... that is way too much
สระน้ำเล็ก ๆ ที่ว่ายน้ำอยู่มันช่างสวยงามยิ่งนัก ไม่มีฉลาม ไม่มีแมงกระพรุน
แต่อย่าลืมว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราออกมาสู่มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ มันมีหมดเลยจ๊ะ ทั้งฉลามและแมงกระพรุน

และที่บอกว่าที่ทำงานเจอแต่เพื่อนร่วมงานดี ๆ 
กับรอยยิ้มบนใบหน้าที่เค๊ามี ยิ้มแย้มจ่มใสทุกวันตามสไตล์คนออสซี่ เราไม่รู้เลยครับว่าข้างในลึก ๆ แต่ละคนคิดยังไง

จากเรื่องมหาลัย เขียนเลยเถิดมาไกล
ที่เขียนมาทั้งหมด ก็แค่อยากจะบอกว่า ขอให้ทุกคนเสพข้อมูลเกี่ยวกับประเทศออสเตรเลียอย่างมี "สติ" 

เสพหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ แห่งเปรียบเทียบกันไป
จะได้ไม่กลายเป็นแมงเม่า

Note: เราเขียนในพื้นที่ของเรา ไม่ชอบให้เลื่อนผ่าน ไม่ต้องเสียเวลาซึ่งกันและกัน ไม่ว่างครับ

Note2: เราโพสต์เรื่องมหาวิทยาลัยที่นี่ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่เมืองไทย ไม่ต้องเอา apple ไปเปรียบเทียบกับ orange นะครับ ขี้เกียจอ่าน

Copyright: ไม่อนญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

​
Comments

    Author

    John Paopeng

    Archives

    February 2023
    January 2023
    December 2022
    November 2022
    October 2022
    September 2022
    August 2022
    July 2022
    June 2022
    May 2022
    April 2022
    January 2022
    December 2021
    November 2021
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    June 2021
    March 2021
    January 2021
    December 2020
    November 2020
    October 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    June 2020
    May 2020
    April 2020
    March 2020
    February 2020
    December 2019
    November 2019
    October 2019
    September 2019
    August 2019
    July 2019
    June 2019
    May 2019
    April 2019
    March 2019
    February 2019
    January 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018

    Categories

    All

    RSS Feed


  • Blog; journal of life
  • Daddy Diary
  • Investment Diary
  • Business Tips and Tricks
  • ข้างขอบเตียง Cancer
  • ครูไทยในต่างแดน
  • ebooks
  • About
  • กราบขอบคุณ