เราไม่แน่ใจว่าพระอาจารย์ที่มาจำพรรษาที่วัดป่าที่ Wilton ชื่อว่าอะไร ไม่ "เอก" ก็ "เอ็กซ์" นี่แหละ
เราก็เลยขอใช้คำสรรพนามแทนท่าว่า "พระอาจารย์" ก็แล้วกัน เราไปที่วัดป่าที่ Wilton บ่อย เราก็ได้มีโอกาสสนนาธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ กับพระอาจารย์บ้าง แต่ส่วนมากจะเป็นแบบ small talk มากกว่า มีอยู่วันหนึ่งที่วัดน่าจะมีงานอะไรสักอย่าง แล้วญาติโยมมาเยอะ ท่านก็เลยสนทนาธรรมนานหน่อยในห้องโถง พระอาจารย์เล่าถึงเรื่องราวการมาบวชเป็นพระของพระอาจารย์ เราก็เดาเอาว่าน่าจะเป็นวัดหนองป่าพง เพราะปัจจุบันพระอาจารย์ก็ประจำอยู่ที่นั่น เราก็เดาเอาว่าพระอาจารย์น่าจะเป็นมาจากเมืองหลวง เรียนจบป.ตรีแล้วมาบวช และก็อยู่ยาวยังไม่สึก พระอาจารย์เล่าว่า: 1. ที่บ้านพระอาจารย์ คุณแม่จะตื่นตอนเช้าสวดมนต์ทุกวัน ลูก ๆ เดินผ่านห้องสวดมนต์คุณแม่ทุกเช้า ก็ซึมซับอะไรเข้าไปบ้าง 2. พระอาจารย์คิดว่า รอให้เรียนจบ แล้วค่อยไปบวช พอบวชเสร็จค่อยเริ่มหางานทำ ไม่อยากทำงานก่อนแล้วลางานไปบวช แบบนั้นจะมีความกระวนกระวายใจเรื่องงาน 3. พระอาจารย์เลือกบวชที่ภาคอีสาน เดาเอาว่าคงเป็นวัดหนองป่าพง 4. สิ่งที่อาจารย์พบเห็นคือ - คนแก่ ชาวบ้าน บางทีไม่มีอะไรมาใส่บาตร มีกล้วยแก่ ๆ สุกงอมอยู่ไม่กี่ลูก เขาก็แบ่งเอามาใส่บาตร คนแก่ชาวบ้านต่อให้เขาไม่มีจะกิน อะไรที่เขามี เขาจะแบ่งให้พระก่อน ให้พระได้ฉัน แล้วพวกเขาก็ค่อยพากันออกไปทำไร่ไถนา - ช่วงที่ฝนตก พระอาจารย์ออกบิณฑบาตร มีคนถือร่มกันฝนให้ แต่ญาติโยมแก่ ๆ ที่มาตักบาตร ที่ภาคอีสาน ญาติโยมถอดรองเท้า คุกเข่าลงนั่ง ฝนตกก็นั่งตากฝน (ชาวบ้านไม่ได้มีเงินมาก) บางคนคนแก่ ๆ มีรอบบาดแผลที่ข้อเท้า พวกเขาก็ค่อย ๆ ขยับตัวเข้าใกล้พระ เพื่อเอื้อมมือให้ถึงบาตร เพราะอาจารย์เห็นแบบนั้น ก็ถึงกับร้องไห้ น้ำตาไหล เอาสบงปาดน้ำตาเดินกลับวัด พระอาจารย์ก็เกิดคำถามต่าง ๆ นานาขึ้นในใจว่า "แล้วเราเป็นใครเนี่ย มาเดินถือร่มกันฝน" และอีกหลาย ๆ คำถามต่าง ๆ นานาเกิดขึ้นในใจ นั่นเป็นครั้งแรกที่พระอาจารย์ไปภาคอีสาน จนถึงทุกวันนี้พระอาจารย์ก็ยังเลือกที่จะที่ภาคอีสาน ไม่หนีไปไหน และยังคงปฏิบัติธรรม เพื่อค้นหาคำตอบของอาจารย์ สิ่งที่พระอาจารย์พูดมาทั้งหมดไม่เกินจริง คนที่เคยเข้าไปสัมผัสกับวิถีชาวบ้านถึงจะรู้ ผู้รู้ได้ก็รู้ได้เฉพาะตน ตัวเราเองสัมผัสมาแล้ว เดินน้ำตาเอ่อ ปริ่ม ๆ กลับวัดมีอยู่จริง Note: วิถีชาวบ้าน ไม่มีหรอกตักบาตรไปด้วยถ่ายรูปพระ อัด video ทำ content ไปด้วย วิถีชาวบ้านเรียบง่ายมาก แล้วเราคงได้เจอกันอีก ตอนนี้รอแค่เวลา |
AuthorJohn Paopeng Archives
October 2024
Categories |